ข้อดีข้อเสียของ e-Commerce

ข้อดีข้อเสียของ e-Commerce

การค้าขายออนไลน์นั้นอาจมีทั้งประสบความสำเร็จ หรือขดทุนก็ได้ เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเราบริหารจัดการไม่ดีก็อาจไปไม่รอดได้ ซึ่งข้อดี – ข้อเสียในการเปิดร้านออนไลน์พอสรุปได้ดังนี้

ข้อดีของการทำ e-Commerce

  • มีต้นทุนในการขายที่ต่ำ ลดต้นทุนในการเดินทาง
  • สะดวกในการโต้ตอบกับลูกค้า ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ เพียงมีอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตได้
  • สามารถทำเพียงคนเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องจ้างคน ช่วยประหยัดต้นทุนด้านแรงงาน
  • มีเครื่องสือสำรวจสถิติที่เอื้ออำนวยต่อการปรับปรุงการสื่อสารกับลูกค้า
  • ลูกค้าเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางไปเอง
  • เปิดค้าขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • สามารถลงโฆษณา และขายได้ทั่วโลก และสามารถเลือกเจาะกลุ่มการโฆษณาไปยังลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย
  • ลดการต่อรอง
  • ไม่จำเป็นต้องมีสต๊อคสินค้า ก็สามารถสร้างร้านค้าขนาดใหญ่ได้

ข้อเสียของการทำ e-Commerce

  • มีการแข่งขันสูง อาจโดนตัดราคาได้ง่าย
  • ผู้ซื้อและผู้ขาย ต้องมีความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต
  • ร้านค้าในอินเทอร์เน็ตมีหลายร้าน ยากต่อการค้นเจอ
  • อาจต้องเสียค่าใช้จา่ยเพื่อปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้สวยงาม
  • เสี่ยงต่อการถูกแฮก หรือแจ้งสแปมทำให้ร้านค้าโดนปิด
  • สินค้าจับต้องไม่ได้ หากลูกค้าได้รับสินค้าที่ไม่ตรงกับภาพ อาจถูกโจมตีได้
  • การจัดส่งต้องใช้เวลาหลายัน และลูกค้าจะต้องเสียค่าจัดส่งเพิ่ม

สำหรับผู้เริ่มต้นที่จะมีธุรกิจออนไลน์เป็นของตัวเอง ตลอดจนธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการจะขยายกลุ่มเป้าหมาย การขายสินค้าในรูปแบบของการทำ e-Commerce หรือการขายสินค้าทางออนไลน์ ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นช่องทางในการเพิ่มกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น

กระบวนการค้าของ E-Commerce

1. การโฆษณาเผยแพร่ โดยการให้ลูกค้ารู้จักสินค้าของธุรกิจ ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือข้อมูลทางเทคนิคของสินค้าหรือบริการ ว่ามีจุดดีจุดเด่นกว่าของธุรกิจอื่น ๆ อย่างไร ซึ่งอาจทำผ่านทางเว็บไซต์ที่มีข้อมูลสินค้า และอาจมีการให้สอบถามปัญหาทางอีเมล์

                2. การรับคำสั่งซื้อ โดยการกรอกข้อมูลลงเว็บไซต์ของผู้ขาย หรือส่งอีเมล์มาเพื่อระบุการสั่งซื้อ พร้อมทั้งการชำระเงิน ซึ่งทั่วไปมักทำโดยผ่านบัตรเครดิต หรือระบบการชำระเงินอื่น ๆ

                3. การส่งมอบ ถ้าสินค้า หรือบริการนั้น ๆ มีลักษณะเป็นของที่ต้องส่ง เมื่อรับชำระแล้วก็ต้องส่งของให้ลูกค้าโดยผ่านทางไปรษณีย์ หรือผู้จัดส่งสินค้า ซึ่งเป็นของที่จับต้องได้ หรือส่งสินค้าให้ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูล เพลง วิดีโอ ที่สามารถบีบอัดให้มีปริมาณน้อยจนส่งผ่านอินเทอร์เน็ตได้

                4. ขั้นตอนหลังการขาย หลังการขายและเก็บเงินแล้ว การบวนการของ E-Commerce จะต้องให้บริการหลังการขาย เช่น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้สินค้านั้น ๆ การรับประกันหรือสถานที่ที่จะนำไปซ่อมแซมได้เมื่อเสีย ตลอดจนดูแลความสัมพันธ์กับลูกค้ารับ ฟังปัญหาและข้อเสนอแนะคำติชมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล์ หรือทางเว็บไซต์โดยตรง

                การเริ่มต้นทำ E-Commerce

                1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย การกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

– กลุ่มเป้าหมายหลัก คือกลุ่มที่ให้ความสนใจกับสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน จะเป็นตัวชี้วัดว่าธุรกิจประสบความสำเร็จหรือไร

                    – กลุ่มเป้าหมายรอง คือกลุ่มลูกค้าย่อยที่ให้ความสนใจกับสินค้าหรือบริการไม่แน่นอน ซึ่งอาจพัฒนามาเป็นกลุ่มลูกค้าหลักได้ในอนาคต

                2. กำหนดขอบเขตของธุรกิจ เป็นการวางแผนให้กับธุรกิจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร จะมีการพัฒนาในส่วนใดบ้างเพื่อเป็นการขยายการเติบโตทางธุรกิจ การกำหนดขอบเขตของธุรกิจจะดูจากกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก

                ลักษณะของขอบเขตธุรกิจ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

                    1) การทำ E-Commerce แบบที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะดังนี้

                                – กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนในประเทศ

                                – ออกแบบเว็บไซต์แบบง่ายๆ ตามสไตล์ของสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย

                                – ใช้ระบบตะกร้าในการเก็บสินค้าหรือไม่ก็ได้

                                – รูปแบบการชำระเงินอาจใช้การโอนผ่านบัญชีธนาคารเท่านั้น

                                – การจัดส่งใช้การส่งทางไปรษณีย์

                    2) การทำ E-Commerce แบบที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะดังนี้

                                – กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นทั้งคนในประเทศและคนต่างประเทศ

                                – ออกแบบเว็บไซต์ต้องมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก ร่วมถึงการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงคนทั่วโลก

                                – มีการใช้ระบบการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าที่มีมาตรฐานที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่ให้การยอมรับ

                                – รูปแบบการชำระเงินส่วนมากเป็นการชำระผ่านบัตรเครดิต ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้บัตรของลูกค้าด้วย

                                – การขยายขอบเขตธุรกิจเป็นไปได้มาก จึงควรมีการวางแผนที่เป็นไปอย่างรอบคอบ

                3. การเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์

                โครงสร้างของระบบ E-Commerce

                องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ทำการค้าแบบ E-Commerce ควรมีระบบการทำงาน ดังนี้

                                ระบบหน้าร้าน

                                – ส่วนประกอบที่สำคัญของการค้าแบบ E-Commerce

                                – ใช้แสดงข้อมูลสินค้าภายในร้านค้า รวมถึงระบบการค้นหาข้อมูลสินค้า นโยบายการค้าและข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

                                – เป็นระบบต่อเนื่องจากหน้าร้าน ถูกใช้เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้า

                                – ระบบจะแสดงรายการสินค้าที่ถูกสั่งซื้อพร้อมคำนวณราคาค่าใช้จ่ายให้ทราบด้วย

                                – ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าได้จนกว่าจะเข้าถึงขั้นตอนการชำระเงิน

                                ระบบการชำระเงิน

                                – เป็นรูปแบบวิธีการชำระเงินค่าสินค้าซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การชำระด้วยบัตรเครดิต การส่งธนาณัติ เป็นต้น

                                – เพื่อความสะดวกของลูกค้า ผู้ขายควรมีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระค่าบริการได้หลายๆทาง

                                – เป็นการบันทึกข้อมูลลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการรับข้อมูลข่าวสารของร้านค้าและการจัดส่งสินค้าได้อย่างถูกต้อง

                                – ผู้ขายสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ได้

                                ระบบขนส่งสินค้า

                                – ต้องมีทางเลือกหลายทางให้กับลูกค้าเช่นเดียวกับการชำระเงิน

                                – ผู้ขายควรมีการแจ้งรายละเอียดในการคิดค่าขนส่งสินค้า หรือมีการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บริษัทขนส่งเพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

                                – เมื่อผ่านขั้นตอนการสั่งซื้อแล้วลูกค้าจะได้หมายเลขคำสั่งซื้อ เพื่อใช้ในการติดตามสถานการณ์จัดส่งสินค้าได้ว่าอยู่ในขั้นตอนใด

                                – เป็นระบบที่เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้ว่าจะได้รับสินค้าอย่างแน่นอน

ความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับ E-commerce

ความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับ E-commerce

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับ E-commerce เรามาดูความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของการทำธุรกิจทั้งสองรูปแบบนี้กันเลยค่ะ

การทําธุรกิจทั่วไป เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ กิจกรรมที่เกี่ยวกับธนาคาร การขนส่ง หรือกระบวนการทั้งปวงของการนําทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพด้วยกระบวนการต่าง ๆ จนเป็นสินค้า และนําไปจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น

การทำธุรกิจแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีหน้าร้าน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในส่วนของสถานที่ พนักงานขาย และพนักงานต้อนรับในส่วนของการกระจายสินค้าและบริการจะกระทําแบบเดิม คือ การส่งสินค้าไปตามสาขา หรือเครือข่ายธรุกิจด้วยกันเอง จึงอาจทําให้ข้อมูลสินค้าและบริการนั้นเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ล้าช้า แต่ในส่วนของความน่าเชื่อถือ การทำธุรกิจแบบมีหน้าร้านจะมีความน่าเชื่อถือที่สูงกว่าเพราะเป็นการค้าที่ผู้บริโภคเห็นว่ามีตัวตนจริงสินค้าและบริการสามารถจับต้องได้

การทำธุรกิจแบบ E-Commerce จะสามารถเข้าถึงลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย เนื่องจากเป็นการเปิดร้านค้าออนไลน์ซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังสามารถติดต่อกับลูกค้าได้ตลอดเวลา สร้างข้อได้เปรียบทางการค้าจากรูปแบบเดิม เช่น เว็บเพจสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติทําให้ลดภาระเรื่องแรงงาน สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ทั่วโลก สะดวกรวดเร็ว ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้จากทุกที่โดยไม่ต้องมาที่ร้าน และทางร้านค้าเองยังสามารถทําการค้าได้ ตลอด 24 ชั่วโมง

ธุรกิจ E-Commerce เป็นธุรกิจที่สามารถกระจายสินค้าและบริการออกมาใหม่ ให้ลูกค้าและกลุ่มผู้บริโภคเข้าถึงและรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพราะการกระจายข้อมูลสินค้าและบริการจะถูกกระทําผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความรวดเร็ว แต่ธุรกิจ E-Commerce มักจะขาดความน่าเชื่อถือเพราะเป็นการค้าแบบดําเนินการผ่านสื่อหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กลุ่มผู้บริโภคจะไม่สามารถจับต้องสินค้าและบริการได้

แต่ถ้าพูดถึงโอกาสทางการค้า จะเห็นได้ชัดเจนว่าการทำธุรกิจแบบ E-Commerce มีโอกาสทางการค้าสูงมากเนื่องจากธุรกิจแบบนี้จะสามารถขายสินค้าและบริการไปได้ทั่วโลก เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มาก จึงทําให้โอกาสทางการค้านั้นสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ในของการทำธุรกิจแบบทั่วไป โอกาสทางการค้าจะน้อยกว่าธุรกิจ E-Commerce ค่ะ

เอาหล่ะค่ะ ทีนี้เราก็ได้ทราบถึงความแตกต่างของการทำธุรกิจแบบทั่วไปและแบบ E-Commerce แล้วนะคะ
ผู้ประกอบการ SMEs  ลองพิจารณาถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของธุรกิจทั้งสองแบบนี้ดูค่ะ รับรองได้ว่าคุณจะมองเห็นลู่ทางในการทำธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนค่ะ

ความรู้เรื่องสาย UTP

สาย UTP

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
   สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย

สาย UTP จะมีสายสัญญาณอยู่จำนวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย
    ส้ม – ขาวส้ม
    เขียว – ขาวเขียว
    น้ำเงิน – ขาวน้ำเงิน
    น้ำตาล – ขาวน้ำตาล

ข้อดีของสาย UTP
 ราคาถูก
 ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
  มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP
 ไม่ เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร)

ประเภทของสาย UTP
   ประเภทที่ 1/Class A: เป็นสายที่ใช้ในระบบโทรศัพท์อย่างเดียว โดยสายนี้ไม่สามรถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้
 ประเภทที่ 2/Class B: เป็นสายที่รองรับแบนด์วิธได้ถึง 4 MHz ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ได้ถึง 4MHz ซึ่งจะประกอบด้วยสายคู่บิดเกรียวอยู่ 4 คู่
 ประเภทที่ 3/Class C: เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 16 Mbps และมีสายคู่บิดเกรียวอยู่ 4 คู่
 ประเภทที่ 4: ส่งข้อมูลได้ถึง 20 Mbps และมีสายคู่บิดเกรียวอยู่ 4 คู่
 ประเภทที่ 5 Enhanced (5e): มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ CAt5 แต่มีคุณภาพของสายที่ดีกว่า เพื่อรองรับการส่งข้อมูลแบบฟลูล์ดูเพล็กซ์ที่ 1,000 Mbps ซึ่งใช้ 4 คู่สาย
 ประเภทที่ 6/Class E: ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10,000 Mbps รองรับแบนด์วิธได้ถึง250 MHz
 ประเภทที่ 7/Class F: รองรับแบนด์วิธได้ถึง 600MHz และกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย


Mobile Internet คืออะไร วิธีการใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคุณ

ในโลกแห่งการสื่อสารไร้ขีดจำกัดด้วยวิธีง่ายๆ แค่มีสมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเพียงเท่านั้น แต่การใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย หรือที่เรียกว่า Mobile Internet มีให้เลือกหลายแพ็กเกจ และข้อจำกัดต่างๆ การใช้งานให้เหมาะสมกับคุณนั้นควรจะเป็นแบบใดบ้างมาดูวิธีเลือกใช้งานกัน

Mobile Internet คืออะไร

Mobile Internet พัฒนามาจากอินเตอร์เน็ตแบบใช้สายที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คทำงานเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ แต่เมื่อระบบอินเตอร์เน็ตกลายเป็นที่นิยมจึงถูกพัฒนาให้ใช้อินเตอร์เน็ตแบบมือถือแบบไร้สายได้ ในยุคแรกเรียกว่า WAP (Wireless Application Protocal) เสมือนอินเตอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ แต่หน้าตาจะไม่สวยเหมือนในคอมพิวเตอร์ จนถูกพัฒนาระบบมาเรื่อยๆ เป็น HSCSD, GPRS, EDGE ซึ่งเป็นระบบเก่าที่เรียกว่า 2G

ยุค 3G และ 4G

เมื่อระบบสื่อสารพัฒนาเข้าสู่ยุคที่ 3 ซึ่งได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850, 900, 1800, 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง ส่วนระบบ 4G จะสามารถเล่นบนคลื่นความถี่ 2100, 2500 และ 2600 ขึ้นอยู่กับภูมิภาคและผู้ให้บริการ ในขณะนี้ประเทศไทยได้มีแค่การรับรองแค่ 2100 เท่านั้น

วิธีใช้ Mobile Internet ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคุณ

สมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นหลากหลายคอยอัพเดตตลอดเวลาเมื่อทำการเปิดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต บางคนมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตตลอดทั้งวันเพื่อทำการสื่อสารทางด้านธุรกิจ อัพเดทพยากรณ์อากาศ อัพเดตสภาพขนส่งบนถนนทางบก เป็นต้น ดังนั้นการจะเลือกใช้ Mobile Internet ให้เหมาะสมก็ควรเลือกตามแพ็คเกจที่ค่ายมือถือแต่ละค่ายได้นำเสนอมาว่าแบบไหนเหมาะสมกับผู้ใช้งานมากที่สุด อย่างถ้าเราไมได้จะเล่นเกมอะไรมากบวกกับปกติมีการเชื่อมต่อ Wi-Fi เป็นประจำอยู่แล้วก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้งานในราคาสูงมากเกินไป แต่ถ้าหากว่าจำเป็นต้องใช้งาน Mobile Internet เป็นประจำ ต้องเดินทางตลอด ไม่สามารถหาจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ง่าย การเลือกใช้ที่ตรงตามคุณภาพก็เป็นเรื่องดีที่ช่วยให้การทำงานหรือการใช้ชีวิตอันจำเป็นต้องมีอินเตอร์เน็ตติดตัวคือเรื่องสะดวกสบายและคุ้มค่าการใช้งานสุดๆ

การเปิดใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน 3G หรือ 4G ย่อมมีค่าใช้จ่ายตามแพ็คเกจที่เลือกใช้จากผู้ให้บริการ ทั้งนี้ผู้ใช้ควรเลือกสมาร์ทโฟนที่รองรับระบบข้อมูลมือถือด้วย บางเครื่องรองรับ 3G ทุกเครือข่าย บางเครื่องยังไม่รองรับ 4G หรือบางเครื่องก็จำกัดเฉพาะบางเครือข่าย ทั้งนี้ควรศึกษาสเปคของเครื่องเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของผู้ใช้เองและทำให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้